Quantcast
Channel: สกัดทองรับซื้อเศษทอง แร่ทอง รับสกัดทองแยกทอง สกัดทอง แยกทองคำ
Viewing all articles
Browse latest Browse all 28

ความรู้เกียวกับทองคำ

$
0
0

 

ทองคำ

ทองคำคือ ธาตุเคมีที่มีหมายเลขอะตอม 79 และสัญลักษณ์คือ Au (มาจากภาษาละตินว่า aurum) ทองคำเป็นธาตุโลหะทรานซิชันสีเหลืองทองมันวาวเนื้ออ่อนนุ่ม สามารถยืดและตีเป็นแผ่นได้ ทองคำไม่ทำปฏิกิริยากับสารเคมีส่วนใหญ่ ทองคำใช้เป็นทุนสำรองทางการเงินของหลายประเทศ ใช้ประโยชน์เป็นเครื่องประดับ งานทันตกรรม และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์

ส่วนผสมกะรัตและสีของทองผสมที่นิยมใช้ในระบบทอง-เงิน-ทองแดง

22 กะรัต สี แดงอ่อน ส่วนผสม (% โดยน้ำหนัก) ทอง91.66 เงิน- ทองแดง8.34
22 กะรัต สี เหลือง ส่วนผสม (% โดยน้ำหนัก) ทอง91.66 เงิน6.20 ทองแดง 2.14
22 กะรัต สี เหลืองจาง ส่วนผสม (% โดยน้ำหนัก) ทอง91.66 เงิน8.34 ทองแดง
22 กะรัต สี เหลืองเข้ม ส่วนผสม (% โดยน้ำหนัก) ทอง91.66 เงิน1.23 ทองแดง 7.11
18 กะรัต สี เหลืองเข้ม ส่วนผสม (% โดยน้ำหนัก) ทอง75.00 เงิน9.00 ทองแดง 16.00
18 กะรัต สี เหลือง ส่วนผสม (% โดยน้ำหนัก) ทอง75.00 เงิน20.00 ทองแดง 5.00
21 กะรัต สี เหลืองอมชมพู ส่วนผสม (% โดยน้ำหนัก)ทอง87.50 เงิน4.50 ทองแดง 8.00
21 กะรัต สี ชมพู ส่วนผสม (% โดยน้ำหนัก)ทอง87.50 เงิน1.75 ทองแดง 10.75
21 กะรัต สี แดง ส่วนผสม (% โดยน้ำหนัก)ทอง87.50 เงิน- ทองแดง 12.50
14 กะรัต สี เหลือง ส่วนผสม (% โดยน้ำหนัก)ทอง58.50 เงิน30.00 ทองแดง 11.50
14 กะรัต สี แดง ส่วนผสม (% โดยน้ำหนัก)ทอง58.50 เงิน2.00 ทองแดง39.50

หน่วยน้ำหนักของทองคำ

กรัม = ใช้กันเป็นส่วนใหญ่ ถือว่าเป็นหน่วยสากล
ทรอยเอานซ์ = ใช้ในประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษ เช่น อังกฤษ สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย
โทลา = ใช้กันทางประเทศแถบตะวันออกกลาง อินเดีย ปากีสถาน
ตำลึง = ใช้ในประเทศที่ใช้ภาษาจีน เช่น จีน ไต้หวัน ฮ่องกง
บาท = ใช้ในประเทศไทย
ชิ = ใช้ในประเทศเวียตนาม

การแปลงน้ำหนักทองคำ

ทองคำความบริสุทธิ์ 96.5% (มาตรฐานในประเทศไทย)

ทองรูปพรรณ น้ำหนัก 1 บาท เท่ากับ 15.16 กรัม
ทองคำแท่ง น้ำหนัก 1 บาท เท่ากับ 15.244 กรัม
ทองคำความบริสุทธิ์ 99.99%

ทองคำ 1 กิโลกรัม เท่ากับ 32.1508 ออนซ์
ทองคำ 1 ออนซ์ เท่ากับ 31.104 กรัม

เรื่องทองคำขาวกับทองขาวค่อนข้างจะถกเถียงกันมาหลายครั้งเหมือน กันครับ  ความจริงแล้ว

ทองขาวคือ Platinum ส่วนทองคำขาวคือทองคำที่ผสมอัลลอยด์อื่นๆเช่น ทองแดงและเงินอ่ะครับ เพราะงั้น
เรียกทับศัทท์ไปเลยน่าจะเหมาะกว่าครับจะได้ไม่สื่อสารคลาดเคลื่อนกันครับ  Platinum ก็ให้บอกไปเลยว่า แพลททินั่ม

ส่วนทองคำที่ผสมอัลลอยด์เรียกไปเลยว่า Whitegold 18K หรือ Whitegold 14K ก็ว่ากันไปครับสำหรับทองที่มีสีเหลืองๆ

 

คุณสมบัติของทองคำ

มี ความแวววาวอยู่เสมอ ทองคำไม่ทำปฏิกิริยากับออกซิเจนดังนั้น เมื่อสัมผัสถูกอากาศสีของทองจะไม่หมองและไม่เกิดสนิม มีความอ่อนตัว ทองคำเป็นโลหะที่มีความอ่อนตัวมากที่สุด ด้วยทองเพียงประมาณ 2 บาท เราสามารถยืดออกเป็นเส้นลวดได้ยาวถึง 8 กิโลเมตร หรืออาจตีเป็นแผ่นบางได้ถึง 100 ตารางฟุต เป็นตัวนำไฟฟ้าที่ดี ทองคำเป็นโลหะชนิดหนึ่งที่สามารถนำไฟฟ้าได้ดี สะท้อนความร้อนได้ดี ทองคำสามารถสะท้อนความร้อนได้ดี ได้มีการนำทองคำไปฉาบไว้ที่หน้ากากหมวกของนักบินอวกาศ เพื่อป้องกันรังสีอินฟราเรด

มนุษย์รู้จักทองคำมาตั้งแต่ประมาณ 5,000 ปี เป็นความหมายแห่งความมั่งคั่ง จุดหลอมเหลว 1064 และจุดเดือด 2970 องศาเซลเซียส เป็นโลหะที่มีค่าที่มีความเหนียว (Ductility) และความสามารถในการขึ้นรูป (Malleability) คือจะยืดขยาย (Extend) เมื่อถูกตีหรือรีดในทุกทิศทาง โดยไม่เกิดการปริแตกได้สูงสุด ทองคำบริสุทธิ์หนัก 1 ออนซ์สามารถดึงเป็นเส้นลวดยาวได้ถึง 80 กิโลเมตร ถ้าตีเป็นแผ่นก็จะได้บางเกินกว่า 1/300,000 นิ้ว ส่วนความกว้างจะได้ถึง 9 ตารางเมตร

ทองคำบริสุทธิ์จะไม่ทำปฏิกิริยาทางเคมี (Chemicalinactive) ได้ง่าย จึงทนต่อการผุกร่อนและไม่เกิดสนิมกับอากาศ (Oxidide) แต่มีปฏิกิริยากับคลอรีน ฟลูออรีน น้ำประสานทอง

คุณสมบัติ เหล่านี้ประกอบกับลักษณะภายนอกที่เป็นประกายจึงทำให้ทองคำเป็นที่หมายปองของ มนุษย์มาเป็นเวลานับพันปี โดยนำมาตีมูลค่าสำหรับการแลกเปลี่ยนระหว่างประเทศและใช้เป็นวัตถุดิบที่ สำคัญสำหรับวงการเครื่องประดับ

ทองคำ ได้รับความนิยมอย่างสูงสุดในวงการเครื่องประดับทองคำ เพราะเป็นโลหะมีค่าชนิดเดียวที่มีคุณสมบัติพื้นฐาน 4 ประการซึ่งทำให้ทองคำโดดเด่น และเป็นที่ต้องการเหนือบรรดาโลหะมีค่าทุกชนิดในโลก คือ

- งดงามมันวาว (lustre) สีสันที่สวยงามตามธรรมชาติผสานกับความมันวาวก่อให้เกิดความงามอันเป็นอมตะ ทองคำสามารถเปลี่ยนเฉดสีทองโดยการนำทองคำไปผสมกับโลหะมีค่าอื่นๆ ช่วยเพิ่มความงดงามให้แก่ทองคำได้อีกทางหนึ่ง
คงทน (durable) ทองคำไม่ขึ้นสนิม ไม่หมอง และไม่ผุกร่อน แม้ว่ากาลเวลาจะผ่านไป 3000 ปีก็ตาม

- หายาก (rarity) ทองเป็นแร่ที่หายาก กว่าจะได้ทองคำมาหนึ่งออนซ์(31.167 gram) ต้องถลุงก้อนแร่ที่มีทองคำอยู่เป็นจำนวนหลายตัน และต้องขุดเหมืองลึกลงไปหลายสิบเมตร จึงทำให้มีค่าใช้จ่ายที่สูง เป็นเหตุให้ทองคำมีราคาแพงตามต้นทุนในการผลิต

- นำกลับไปใช้ได้ (reuseable) ทองคำ เหมาะสมที่สุดต่อการนำมาทำเป็นเครื่องประดับเพราะมีความเหนียวและอ่อนนิ่ม สามารถนำมาทำขึ้นรูปได้ง่าย อีกทั้งยังสามารถนำกลับมาใช้ใหม่โดยการทำให้บริสุทธิ์ (purified) ด้วยการหลอมได้อีกโดยนับครั้งไม่ถ้วน

สรุปจากเอกสารของกรมทรัพยากรธรณี ได้มีการแบ่งการเกิดของแร่ทองคำออกเป็น 2 แบบ ตามลักษณะที่พบในธรรมชาติได้ดังนี้

- แบบปฐมภูมิ คือ กระบวนการทางธรณีวิทยา มีการผสมทางธรรมชาติจากน้ำแร่ร้อน ผสมผสานกับสารละลายพวกซิลิก้า ทำให้เกิดการสะสมตัวของแร่ทองคำในหินต่างๆ เช่น หินอัคนี หินชั้น และหินแปร มีการพบการฝังตัวของแร่ทองคำในหิน หรือสายแร่ที่แทรกอยู่ในหิน ซึ่งส่วนใหญ่จะมองไม่เห็นด้วยตาเปล่า

- แบบทุติยภูมิหรือลานแร่ คือ การที่หินที่มีแร่ทองคำแบบปฐมภูมิได้มีการสึกกร่อน และถูกน้ำพัดพาไปสะสมตัวในที่แห่งใหม่ เช่น ตามเชิงเขา ลำห้วย หรือในตะกอนกรวดทรายในลำน้ำ

แหล่งแร่ทองคำปฐมภูมิในไทย เช่น

- แหล่งโต๊ะโมะ จ.นราธิวาส
- แหล่งเขาสามสิบ จ.สระแก้ว
- แหล่งชาตรี(เขาโป่ง) จ.พิจิตร – จ.เพชรบูรณ์
- แหล่งดอยตุง (บ้านผาฮี้) จ.เชียงราย
- แหล่งเขาพนมพา จ.พิจิตร

แหล่งแร่ทองคำทุติยภูมิในไทย เช่น

- แหล่งบ้านป่าร่อน จ.ประจวบคีรีขันธ์
- แหล่งบ้านนาล้อม จ.ปราจีนบุรี
- แหล่งบ้านทุ่งฮั้ว จ.ลำปาง
- แหล่งในแม่น้ำโขง จ.เลย – จ.หนองคาย
- แหล่งบ้านผาช้างมูบ จ.พะเยา

 

ในแหล่งแร่ทองคำ ทองคำมักจะอยู่ในสภาพเป็นเม็ดเล็กๆ ที่ก้นลำธาร ปัญหาคือจะต้องแยกทองปริมาณน้อยๆ ออกจากสารอื่นที่ไร้ประโยชน์ปริมาณมากมาย ในสมัยโบราณจะใช้ขนแกะแช่ลงในลำธารเพื่อเก็บผงทองขึ้นมา ซึ่งเป็นที่มาของตำนานกรีกเรื่องพวกอาร์โกนอตส์ ผู้แสวงหาขนแกะทองคำ พวกนักหาทองเคยใช้วิธี”ร่อน” โดยแกว่งน้ำที่มีผงดินทรายจากลำธาร เขาจะแกว่งกะทะแบนๆ เพื่อให้น้ำหมุนวนอยู่ข้างใน ทำให้กรวดทรายซึ่งเบากว่าร่อนออกไปหมด เหลือแต่ทองที่มีความหนาแน่นสูงกว่าอยู่ที่ก้นภาชนะ ทุกวันนี้นิยมสกัดแร่ทองโดยใช้สารเคมี คือนำก้อนแร่มาบดแล้วผสมกับสารละลายของโพแทสเซียมไซยาไนด์ ซึ่งทำให้ทองละลาย จากนั้นกรองเอาสารเจือปนที่ไม่ละลายออกไป แล้วทำให้ทองตกตะกอน แร่ 1 ตัน จะให้ทองคำ 10 กรัมเท่านั้น         วิธีหนึ่งที่จะแยกทองคำจากตะกอนทับถม คือการนำทองคำไปรวมกับปรอทได้โลหะผสมเป็นของเหลวที่รู้จักกัน คือ อะมัลกัม ด้วยกระบวนการเก่าแก่โดยนำปรอทและทองคำที่ปนตะกอนไปเผาให้ร้อน ทำให้ทองคำรวมกับปรอทเป็นอะมัลกัม นำอะมัลกัมไปละลายกับโซเดียมไซยาไนด์เจือจาง แล้วเติมสังกะสีลงไปในสารละลาย ทองคำจะตกตะกอนอยู่ที่ก้นภาชนะ วิธีอะมัลกัมทำให้ได้ทองคำจากแร่ประมาณ 2 ใน 3 การสกัดส่วนที่เหลือต้องใช้วิธีทางเคมีอื่นๆ การทำทองคำให้บริสุทธิ์โดยวิธีเคมีเป็นขั้นสุดท้ายของกระบวนการ สามารถนำไปใช้กับตะกอนทองคำที่ได้ ทำให้บริสุทธิ์บางส่วนมาแล้วโดยวิธีอะมัลกัม หรือใช้กับของเหลือ(คล้ายโคลน) ที่ได้จากการทำทองแดงและสังกะสีให้บริสุทธิ์ นำทองคำไปละลายในโซเดียมไซยาไนด์ ทำนองเดียวกับเงิน เมื่อเติมโลหะสังกะสีลงไปในสารละลาย ทองคำจะตกตะกอน ดังสมการ

โซเดียมไซยาไนด์,8NaCN(s) + ทองคำอะมัลกัม,4Au(s) + น้ำ,2H2O(1) + ออกซิเจน,O2(g) —–>ไซยาไนด์เชิงซ้อน,4NaAu(CN)2(aq) + โซเดียมไฮดรอกไซด์,4NaOH(aq)
ไซยาไนด์เชิงซ้อน,2NaAu(CN)2(aq) + สังกะสี,Zn(s) —–> ไซยาไนด์เชิงซ้อน,Na2Zn(CN)4(aq) + ทองคำ, 2Au(s)

วิธีทางเคมี (electrolysis*) ถูกนำมาใช้ในการทำทองให้บริสุทธิ์โดยใช้สารประกอบคลอไรด์ หรือไซยาไนด์เป็นสารอิเล็กโทรไลต์ ซึ่งทองบริสุทธิ์จะไปเกาะที่ขั้วคาโธด
อย่างไรก็ตาม โดยปกติแล้วทองคำจะไม่ว่องไวในทางเคมี ดังนั้น จึงไม่เกิดเป็นออกไซด์ได้ง่าย หรือเป็นสารประกอบอื่น และยังคงเป็นโลหะ”บริสุทธิ์” อยู่ในหิน โลหะผสมของทองคำนั้น ก็มักเป็นโลหะผสมกับเงิน และทองแดง หรือนิกเกิล(ทองคำขาว) หรือปรอท(อะมัลกัม) ซึ่งก็สามารถแยกด้วยวิธี electrolysis ได้

หมายเหตุ* : electrolysis เป็นกระบวนการไฟฟ้า-เคมีที่ใช้กระแสไฟฟ้าทำให้สารประกอบแตกตัวและมีไอออนของ โลหะ เคลื่อนที่ในสารละลายนั้น กระบวนการเช่นนี้เกิดขึ้นในธรรมชาติหลายอย่าง(เช่น การเกิดสนิม) และใช้กันทั่วไปในอุตสาหกรรมทำโลหะให้บริสุทธิ์ หรือชุบวัตถุที่เป็นโลหะให้สวยงามและมีโลหะเคลือบอย่างสม่ำเสมอ

 

เปอร์เซ็นต์ทอง

การกำหนดคุณภาพของทองคำยังคงใช้ความบริสุทธิ์ของทองคำในการบ่งบอกคุณภาพของทองคำ   โดยการคิดเนื้อทองเป็น “กะรัต”   ทองคำบริสุทธิ์   หมายถึง   ทองคำที่มีเนื้อทอง 99.99 เปอร์เซ็นต์หรือมากกว่านั้น    หรือเรียกกันว่าทองร้อยเปอร์เซ็นต์   หรือเรียกกันในระบบสากลว่า   ทอง 24 กะรัต    ทองซึ่งมีเกณฑ์การบ่งบอกคุณภาพของเนื้อทองโดยบ่งบอกความบริสุทธิ์เป็นกะรัต มีชื่อเรียกว่า   “ทองเค”   ทองคำบริสุทธิ์ไม่มีโลหะหรือสารอื่นเจือปนอยู่เป็นทอง 24 กะรัต   หากมีความบริสุทธิ์ของทองคำลดต่ำลงมา   ก็แสดงว่ามีโลหะอื่นเจือปนมากขึ้นตามส่วน   เช่น   ทอง 14 กะรัต หมายถึง ทองที่มีเนื้อทองบริสุทธิ์ 14 ส่วน และมีโลหะอื่นเจือปน 10 ส่วน   เป็นต้น        ทองประเภทนี้บางทีเรียกว่า “ทองนอก”    ซึ่งส่วนมากนิยมนำมาทำเป็นเครื่องประดับเพชรพลอยต่าง ๆ   ในอุตสาหกรรมอัญมณี
กะรัต                 สัญลักษณ์          เปอร์เซ็นต์          เฉดสีที่ได้           นิยมในประเทศ
24                     24K                   100%                ทอง                  สวิสต์เซอร์แลนด์
22                     22K                   91.7%               เหลืองทอง          อินเดีย
21                     21K                   84.5%               เหลืองทอง          กลุ่มประเทศตะวันออกกลาง
18                     18K                   75%                  เหลืองขาว           อิตาลี,ฝรั่งเศส,ญี่ปุ่น
14                     14K                   58.3%               เหลืองขาว           สหรัฐอเมริกา,อเมริกาเหนือ,อังกฤษ
10                     10K                   41.6%               เหลือง                สหรัฐอเมริกา ,อเมริกาเหนือ
9                      9K                     37.5%               เหลืองปนเขียว     อังกฤษ
8                      8K                     33.3%               เหลืองซีด           เยอรมนี
            สำหรับประเทศไทยนั้นใช้มาตรฐานความบริสุทธิ์ของทองคำที่ 96.5 เปอร์เซ็นต์   หากจะเทียบเป็นกะรัตแล้ว จะได้ประมาณ 23.16 K      ซึ่งจะได้สีทองที่เหลืองเข้มกำลังดี   และมีความแข็งของเนื้อทองพอเหมาะสำหรับการนำมาทำเครื่องประดับ                      เนื่องจากทองคำบริสุทธิ์ 99.99 เปอร์เซ็นต์     มีความอ่อนตัวมาก   จึงไม่สามารถนำมาใช้งานได้         จำเป็นต้องผสมโลหะอื่น ๆ   ลงไปเพื่อปรับสมบัติทางกายภาพของทองคำให้แข็งขึ้น คงทนต่อการสึกหรอ    โลหะที่นิยมนำมาผสมกับทองคำได้แก่ เงิน ทองแดง นิกเกล และสังกะสี   ซึ่งอัตราส่วนจะสัมพันธ์ตามความต้องการของผู้ใช้งาน กล่าวคือ ผู้ผลิตทอง รูปพรรณแต่ละรายจะมีสูตรของตนเอง    ในการผสมโลหะอื่นเข้ากับทอง     บางรายอาจผสมทองแดงเป็นสัดส่วนที่มากหน่อยเพราะต้องการให้สีของทองออกมามีสี อมแดง หรือบางรายอาจชอบให้ทองของตนสีออกเหลืองขาวก็ผสมเงินในอัตราส่วนที่พอ เหมาะ         ซึ่งทั้งหมดนั้นจะได้ความบริสุทธิ์ของทอง 96.5 เปอร์เซ็นต์ เช่นเดียวกัน 

การเปรียบเทียบทอง k  กับเปอร์เซ็นต์ของเนื้อทองจะเป็นดังนี้

 ทองK  เปอร์เซ็นต์ของเนื้อทอง
 24k  99.99%
 23.16k  96.5%
 22k  91.7%
 18k  75%
 14k  58.3%
 10k  41.6%
 9k  37.5%
 8k  33.3%

 

วันที่ ทองคำ
แท่ง
96.5%
รับซื้อบาทละ
ทองคำ
แท่ง
96.5%
ขายบาทละ
ทอง
รูปพรรณ
96.5%
รับซื้อกรัมละ
ทอง
รูป พรรณ
96.5%
รับซื้อบาทละ
ทอง
รูปพรรณ
96.5%
ขายบาทละ
ทอง
90%
รับซื้อกรัมละ
ทอง
90%
ซื้อบาทละ
ทอง
40%
รับซื้อกรัมละ
ทอง
40%
ซื้อบาทละ
06/Jul/2012 24000 24100 1560 23649.6 24500 1404 21284.64 546 8277.36

น้ำประสานทองคืออะไร

น้ำ ประสานทองคืออะไร  หลายคนมักจะบ่นเวลาซื้อทองว่า “ทองที่มีน้ำประสานเยอะถือว่าไม่ดี” นั่นเป็นเพียงความเข้าใจที่ถูกเพียงบางส่วนเท่านั้น แต่ไม่ใช่ทั้งหมดเพราะน้ำประสานทองก็คือวัตถุที่มีคุณสมบัติในการเชื่อมทอง ให้ยึดติดกัน เพราะฉะนั้นคุณสมบัติของมันจะต้องหลอมเหลว ก่อนที่ทองจะละลาย นั่นคือจะต้องมีจุดหลอมเหลวที่ต่ำกว่าทองนั่นเอง ตัวอย่างเช่น ทองคำบริสุทธิ 99.99 % หลอมเหลวที่ 1,000 องศาเซลเซียสน้ำประสานทองจะต้องมีจุดหลอมเหลวที่ 800 องศาเซลเซียส เพื่อที่ว่าเมื่อน้ำประสานหลอมละลายแล้วจะทำให้ทองยึดติดกันได้ก่อนที่เนื้อ ทองจะหลอมละลายนั่นเอง เป็นหลัการง่ายๆ ทางวิทยาศาสตร์

>>>>  ความรู้เกี่ยวกับไซยาไนด์  ( Cyanide )

เกลือทองคืออะไร

 

G.P.C เป็นชื่อย่อมาจากคำว่า Gold Potassium Cyanide หรือ โพแทสเซียมไซยาไนด์ ที่มีสูตรทางเคมีว่า K(Au(CN)2) หรือชื่อในภาษาไทยเรียกว่า “เกลือทองนั้นเอง ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่นำมาใช้งานภาคอุตสาหกรรม เช่น งานชุบเคลือบผิวโลหะด้วยไฟฟ้าของการผลิตเครื่องประดับเทียมอุตสาหกรรมการผลิตชิ้น ส่วนอิเลคโทรนิคส์, การผลิตงานทองขึ้นด้วยไฟฟ้า (Gold Electroforming)เป็นต้น

 

 

กระบวนการผลิตเกลือทอง G.P.C Production Process
นำแผ่นทองละลายใน KCN Gold solution in KCN นำไปแช่เย็น 2 องศาจะตกผลึกเกลือทอง Cool to 2 degrees Celsius to crystallize G.P.C นำ G.P.C ที่ได้ไปล้างนำกลั่นบริสุทธิ์ 24 ชั่วโมง โดยแช่เย็น 2 องศา (เพื่อลดปริมาณ KCN EXCESS ลง)Wash G.P.C. in distilled water for 24 hours at a temperature of 2 degrees Celsius (to reduce excess KCN) นำ C.P.C. เข้าตู้อบแห้งได้ GPC ที่แห้งสนิท Place the G.P

โพแทสเซียม ไซยาไนด์ (Potassium cyanide)

ชื่อเรียกอื่น Cyanides; Cyanide of potassium; Hydrocyanic acid,potassium salt; M-44 capsules; Potassium cyanide,solid; Potassium cyanide solution
CAS No. 151-50-8
สูตรโมเลกุล KCN
น้ำหนักโมเลกุล 65.12
จุดเดือด 1625 องศาเซลเซียส
คุณสมบัติ มีสีขาว ลักษณะเป็นแกรนูลหรือเป็นผงดูดความชื้น มีกลิ่นของ bitter almond ละลายได้ดีในน้ำ
การใช้ที่ผิดกฎหมาย ใช้ในการผลิต PCP และอนุพันธ์
การใช้ที่ถูกกฎหมาย ใช้ประโยชน์ในการทำความสะอาดโลหะ การชุบโลหะด้วยไฟฟ้า ใช้ในการสกัดแร่ทองและเงินออกจากสินแร่ ใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตสีย้อม ใช้เป็นสารกำจัดแมลง
กฎหมายควบคุม จัดเป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 3 ตามพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ.2535
บทลงโทษ ผู้ใดผลิต นำเข้า ส่งออกหรือมีไว้ในครอบครองซึ่งวัตถุอันตรายชนิดที่ 3 โดยมิได้รับอนุญาต ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสองแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
หน่วยงานที่รับผิดชอบ กรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม

ไซยาไนด์ ( Cyanide )

มีอยู่ 2 รูปแบบ คืออย่างเป็นก๊าซ นั่นคือ
1. ไฮโดรเจนไซยาไนด์ ( Hydrogen Cyanide ) ซึ่งมีสูตรเคมีว่า HCN
จะเรียกมันว่าก๊าซไซยาไนด์ ( Cyanide gas ) ก็ได้
2. เกลือของไซยาไนด์ซึ่งก็มีอยู่มากมายหลายตัว แต่ขอพูดถึงแต่
โพแทสเซียมไซยาไนด์ ( Potassium Cyanide – KCN )

โพแทสเซียมไซยาไนด์ ( KCN ) มีลักษณะเป็นของแข็งสีขาว เป็นผงที่ละลายน้ำได้
มีกลิ่นคล้าย ๆ อัลมอนด์ แต่ก็เป็นกลิ่นที่จางมากเลย

การหย่อนเกลือไซยาไนด์ลงในกรดจะทำให้เกิดก๊าซไซยาไนด์ ( HCN ) พุ่งขึ้นมาทันที
ก๊าซนี่กลิ่นเหมือนอัลมอนด์ แต่ก็กลิ่นจางมาก
จางจนต้องอาศัยความเชี่ยวชาญซักหน่อยในการได้กลิ่นก๊าซไซยาไนด์
มีสถิติว่าประมาณ 20%
ของผู้ใหญ่จะเป็นคนที่ไม่สามารถจับกลิ่นก๊าซไซยาไนด์ได้เลยเนื่องจากมันเป็นกรรมพันธุ์
นอกจากนี้ก๊าซไซยาไนด์ก็เป็นก๊าซที่ติดไฟได้ง่ายมาก และทำปฏิกิริยาได้รุนแรง
ผลลัพธ์ของก๊าซไซยาไนด์จำนวนมากรั่วมาสู่อากาศอาจจะระเบิดได้

ความน่ากลัวของไซยาไนด์

มันสามารถฆ่าคนได้อย่างรวดเร็ว
ไซยาไนด์สามารถเข้าสู่ร่างกายคนได้จากหลายเส้นทาง ทั้งการสูด
เอาก๊าซไซยาไนด์เข้าไป การกินไซยาไนด์ทั้งชนิดเม็ดและชนิดน้ำ
หรือแม้แต่การสัมผัสกับสารไซยาไนด์ ถ้าเป็นการกินไซยาไนด์เข้าไปขณะท้องว่าง
ก็จะใช้เวลาออกฤทธิ์เป็นหน่วยนาที ถ้ามีข้าวอยู่เต็มกระเพาะแล้ว
ก็หน่วงเวลาตายอีกหน่อยเป็นชั่วโมงแทน
เพราะในกระเพาะเรามีกรดที่ใช้ในการย่อยอาหารอยู่
การกินเกลือไซยาไนด์เข้าไปขณะท้องว่าง ก็เหมือนการหย่อนมันลงในกรดนั่นแหละ
มันก็จะทำปฎิกิริยากับกรดในกระเพาะ เป็นก๊าซไซยาไนด์อยู่ในตัวเรา
ผลลัพธ์เลยออกมารวดเร็วกว่ากินขณะท้องว่างหลายเท่า
แต่ถ้าเป็นการสูดก๊าซไซยาไนด์เข้าไปอันนี้เร็วมาก
นับเวลาตายถอยหลังเป็นวินาทีได้เลย

ความเข้มข้นของไซยาไนด์ก็มีผลกับความเร็วมาก ถ้าจับคนล็อกไว้ในห้องก๊าซขนาด
1x1x1 เมตร แล้วปล่อยก๊าซไซยาไนด์เข้าไปซัก 300 มิลลิกรัม
เขาจะตายทันทีโดยไม่ทันร้องซักแอะ แต่ถ้าปล่อยก๊าซไซยาไนด์ 150 มิลลิกรัมเข้าไป
เขาจะมีเวลาอีกประมาณ 30 นาทีไว้ทรมานก่อนตาย แล้วถ้าปล่อยก๊าซเข้าไปแค่ 20
มิลลิกรัม เขาจะยังไม่ตาย เพียงแต่จะมีอาการผิดปกติเล็กน้อยหลังจากนั้น

ไซยาไนด์มีความจำเป็นกับอุตสาหกรรมหลายประเภท
ก๊าซไซยาไนด์ใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตสารประกอบไซยาไนด์อื่น ๆ
ซึ่งก็เอาไปใช้ทำอะไรได้ตั้งหลายอย่างเช่นไนลอน เส้นใยอะครีลิก เรซิน
ยาปราบศัตรูพืช เกลือไซยาไนด์ต่าง ๆ ก็มีบทบาทในการผสมโลหะ การแยกแร่ทองคำ
การชุบโลหะด้วยไฟฟ้า และการทำโลหะให้บริสุทธิ์ด้วย

ไซยาไนด์ฆ่าคนได้ยังไง
อาหารที่เรากินเข้าไปนั้นร่างกายจะนำไปผ่านกระบวนการซับซ้อนหลายขั้นตอน
เพื่อให้กลายเป็นพลังงานเก็บไว้ใช้ เพราะร่างกายเราต้องการพลังงานอยู่ตลอดเวลา
แม้แต่เวลาที่เรานั่งเฉย ๆ คิดเรื่อยเปื่อยร่างกายก็ยังใช้พลังงานไปกับการคิด
การเก็บพลังงานนี้จะเป็นการเก็บไว้ในสารที่ใช้เก็บพลังงาน
โดยเฉพาะซึ่งก็มีอยู่หลายชนิด ซึ่งร่างกายสร้างมา
หนึ่งในกระบวนการสร้างสารเก็บพลังงานนี้คือกระบวนการที่เรียกว่า Electron
Transfer System ( เรียกย่อว่า ETS )
ซึ่งในสภาพปกติแล้วจะเป็นการส่งผ่านอิเล็กตรอนที่ได้จากอาหาร
ให้กับตัวรับที่เรียกว่า cytochrome ระหว่างการส่งอิเล็คตรอนไปเรื่อยเป็นทอด ๆ
จะมีการปล่อยพลังงานออกมาให้ตัวเก็บพลังงานรับไป
แล้วเราจะได้สารเก็บพลังงานมาหนึ่งตัว เมื่อมีไซยาไนด์ ไซยาไนด์จะไปเกาะที่
cytochrome ทำให้การส่งต่ออิเล็คตรอนชะงัก การสร้างสารเก็บพลังงานชะงัก
แล้วเราก็ตาย ไซยาไนด์ยังสามารถไปเกาะกับฮีโมโกลบินซึ่งเป็นสารตัวที่ร่างกาย
ใช้ขนส่งออกซิเจนไปตามที่ต่าง ๆ ทั่วร่างกายด้วย
เมื่อมีไซยาไนด์มาเกาะหมับแทนที่ออกซิเจนแล้ว เซลล์ในร่างกายเราย่อมทุรนทุราย
เพราะขาดออกซิเจนอันเป็นของจำเป็นต้องใช้ ในที่สุดก็ตายอีกเช่นกัน
สภาพของคนที่ตายเพราะไซยาไนด์จึงมีลักษณะเหมือนคนขาดอากาศหายใจตาย
ด้วยเหตุนี้ไซยาไนด์จึงสามารถทำให้คนตายได้อย่างรวดเร็วและง่ายดายในปริมาณเพียงเล็กน้อยเท่านั้น

อาการของคนที่กินไซยาไนด์เข้าไปยังไม่รุนแรง
- กล้ามเนื้อล้า แขนขารู้สึกหนัก
- หายใจลำบาก
- ปวดหัว รู้สึกมึนๆ วิงเวียน
- คลื่นไส้ อาเจียน
- ลมหายใจมีกลิ่นอัลมอนด์จาง ๆ
- รู้สึกระคายเคืองคัน ๆ ที่จมูก คอ ปาก

อาการรุนแรง
- คลื่นไส้อาเจียนอย่างรุนแรงกว่า
- หายใจลำบากขนาดต้องอ้าปากพะงาบ ๆ งับอากาศ
- ชักดิ้นชักงอ
- หมดสติ

ถ้าไปพบคนกำลังแย่เพราะไซยาไนด์อยู่ตรงหน้า ความเร็วเป็นสิ่งสำคัญที่สุด
ถ้าเป็นการกินเข้าไปก็ต้องส่งเข้าโรงพยาบาลล้างท้องเร็วที่สุด
ถ้าเป็นก๊าซไซยาไนด์ ก็ต้องพาออกไปให้พ้นจากบริเวณที่มีก๊าซให้เร็วที่สุด
ถ้าเสื้อผ้าหรือผิวหนังเปื้อนสารไซยาไนด์ก็ให้ล้างออกด้วยน้ำสะอาด
ที่สำคัญคือคนช่วยต้องระวังตัวมาก ๆ อย่าสูดลมหายใจของผู้ป่วยเข้าไปเป็นอันขาด
แล้วเรียกรถพยาบาลมาด้วย.

 

พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถานไซยาไนด์
ไซยาไนด์
ความหมาย
น. เกลือปรกติของกรดไฮโดรไซยานิก (HCN) เช่น โพแทสเซียมไซยาไนด์ (KCN) โซเดียมไซยาไนด์ (NaCN) เกลือไซยาไนด์ทั้งหมดเป็นพิษอย่างร้ายแรง. (อ. cyanide).

ทองคำ
แพลทินัม ← → ปรอท
Ag

Au

Rg
Au-TableImage.svg
ทั่วไป
ชื่อ, สัญลักษณ์, เลขอะตอม ทองคำ, Au, 79
อนุกรมเคมี โลหะทรานซิชัน
หมู่, คาบ, บล็อก 11, 6, d
ลักษณะ สีเหลืองวาว
Au,79.jpg
มวลอะตอม 196.96655 (2) กรัม/โมล
การจัดเรียงอิเล็กตรอน [Xe] 4f14 5d10 6s1
อิเล็กตรอนต่อระดับพลังงาน 2, 8, 18, 32, 18, 1
คุณสมบัติทางกายภาพ
สถานะ ของแข็ง
ความหนาแน่น (ใกล้ r.t.) 19.3 ก./ซม.³
ความหนาแน่นของของเหลวที่m.p. 17.31 ก./ซม.³
จุดหลอมเหลว 1337.33 K
(1064.18 °C)
จุดเดือด 3129 K(2856 °C)
ความร้อนของการหลอมเหลว 12.55 กิโลจูล/โมล
ความร้อนของการกลายเป็นไอ 324 กิโลจูล/โมล
ความร้อนจำเพาะ (25 °C) 25.418 J/(mol·K)
ความดันไอ
P/Pa 1 10 100 1 k 10 k 100 k
ที่ T K 1646 1814 2021 2281 2620 3078
คุณสมบัติของอะตอม
โครงสร้างผลึก cubic face centered
สถานะออกซิเดชัน 3, 1
(amphoteric oxide)
อิเล็กโตรเนกาติวิตี 2.54 (พอลิงสเกล)
พลังงานไอออไนเซชัน ระดับที่ 1: 890.1 กิโลจูล/โมล
ระดับที่ 2: 1980 กิโลจูล/โมล
รัศมีอะตอม 135 pm
รัศมีอะตอม (คำนวณ) 174 pm
รัศมีโควาเลนต์ 144 pm
รัศมีวานเดอร์วาลส์ 166 pm
อื่น ๆ
การจัดเรียงทางแม่เหล็ก no data
ความต้านทานไฟฟ้า (20 °C) 22.14 nΩ·m
การนำความร้อน (300 K) 318W/(m·K)
การขยายตัวจากความร้อน (25 °C) 14.2 µm/(m·K)
ความเร็วเสียง (thin rod) (r.t.) (hard-drawn)
2030 m/s
โมดูลัสของยังก์ 78 GPa
โมดูลัสของแรงเฉือน 27 GPa
โมดูลัสของแรงบีบอัด 220 GPa
อัตราส่วนปัวซอง 0.44
ความแข็งโมห์ส 2.5
ความแข็งวิกเกอร์ส 216 MPa
ความแข็งบริเนล 2450 MPa
เลขทะเบียน CAS 7440-57-5
ไอโซโทปที่น่าสนใจ
บทความหลัก: ไอโซโทปของทองคำ
iso NA ครึ่งชีวิต DM DE (MeV) DP
195Au syn 186.10 d ε 0.227 195Pt
196Au syn 6.183 d ε 1.506 196Pt
β- 0.686 196Hg
197Au 100% Au เสถียร โดยมี 118 นิวตรอน
198Au syn 2.69517 d β- 1.372 198Hg
199Au syn 3.169 d β- 0.453 199Hg
แหล่งอ้างอิง

Viewing all articles
Browse latest Browse all 28

Trending Articles